หนวดปลาดุก( )
หนวดปลาดุก( )
- หนวดปลาดุก( )
- ชื่อวิทยาศาสตร์ : Fimbristylis miliacea (L.) Vahl.
- ชื่อสามัญ : tall fringe rush
- ชื่ออื่น : หนวดแมว, หญ้าน้ำร้อน
- ประเภท/ชีพจักร : กก/อายุปีเดียว
ลักษณะทางชีววิทยา
- ใบแตกขึ้นเป็นกอ แบนและบอบบางคล้ายพัด ลำต้นอาจมีลักษณะกลมหรือเป็นสามเหลี่ยมไม่มีข้อปล้อง ใบไม่แยกเป็นก้านใบและแผ่นใบ ใบแหลมแผ่นใบเล็กและยาว ก้านชูดอกสูง 25-50 ซม. ช่อดอกเป็นรูปคล้ายร่มซ้อนกันหลายชั้น ประกอบด้วยดอกย่อย 50-100 ดอก แต่ละดอกจะเป็นรูปกลมไม่มีก้าน ประกอบด้วยดอกจำนวนมาก ออกดอกหลังงอกเพียง 1-2 เดือน มีวงจรชีวิตประมาณ 3-4 เดือน ชอบงอกในสภาพดินชื้น ไม่งอกใต้น้ำที่ลึกกว่า 2 ซม. เมื่องอกแล้วเจริญได้ในที่น้ำขัง เติบโตได้ในที่แห้งและน้ำขัง พบมากในที่ดินมีฟอสฟอรัสสูง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดแพร่ระบาดโดยลมและน้ำ
การป้องกันกำจัด
-
เขตกรรม
-
1. ล่อให้งอกโดยการไขน้ำเข้านาแล้วขังไว้ 3 วัน ระบายน้ำออกทิ้งไว้ในสภาพดินชื้น 1-2 สัปดาห์ หนวดปลาดุกจะงอกขึ้นมาจำนวนมาก
2. เมื่อหนวดปลาดุกงอกขึ้นมาเป็นจำนวนมากแล้วจึงไถกลบทำลาย และเตรียมดิน
3. หากมีการเตรียมดินดีเรียบสม่ำเสมอจะสามารถเอาน้ำเข้านาได้หลังหว่านข้าวงอกแล้ว 7 วัน โดยขังน้ำลึกกว่า 2 เซนติเมตรจะควบคุมไม่ให้หนวดปลาดุกงอกขึ้นมาได้ แต่ที่งอกมาก่อนหน้าการขังน้ำก็ยังสามารถเจริญเติบโตได้
สารกำจัดวัชพืช
-
ประเภทก่อนวัชพืชงอก เช่น เพรททิลาคลอร์, บิวทาคลอร์, ออกซาไดอะซอน, ไดฟลูเฟนิแคน, เฟนแทรสซามายด์, ไพราซัลฟูรอน
ประเภทหลังวัชพืชงอก เช่น เบนซัลฟูรอน-เมทธิล,+คลอริมูรอน-เอธิล, 2,4-D, อะนิโลฟอส, ไซโคลซัลฟามูรอน, บีสไพริแบก-โซเดียม, โพรพานิล, ฟีนอกซาพรอพ-พี-เอทธิล+เอทธอกซีซัลฟูรอน, ฟีน็อกซูแลม, ไพริเบนโซซิม, ออกซีฟลูออเฟน, โคลมาโซน, ไดเมทีนามิด, ไทโอเบนคาร์บ, ออกซาซีโคลมีโฟน, ไซฮาโลฟอป