บทความ
การจัดการปุ๋ยไนโตรเจนด้วยแผ่นเทียบสีใบข้าว
- คําแนะนําการจัดการปุ๋ยไนโตรเจนด้วยแผ่นเทียบสีใบข้าว
- สิ่งที่มีผลต่อความเข้มของสีใบ
- แนวทางการใช้แผ่นเทียบสี
- งานวิจัย การใช้แผ่นเทียบสีใบข้าวจัดการปุ๋ยไนโตรเจนกับข้าวสุพรรณบุรี 1 ที่ปลูกโดยวิธีหว่านน้ำตม
“แผ่นเทียบสีใบข้าว” คือ อุปกรณ์วัดสีของใบข้าว โดยแผ่นดังกล่าวมีลักษณะเป็นแผ่นพลาสติกคุณภาพพิเศษ ประกอบด้วยแถบสีระดับต่าง ๆ 4-6 แถบ มีร่องเล็ก ๆเลียนแบบลักษณะของใบข้าว ซึ่งระดับสีบนแผ่นเทียบจะจำลองจากสีของใบข้าว หลังจากการใส่ปุ๋ยเคมี ประกอบด้วยสีเขียวเข้ม จางลงตามลำดับ กระทั่งใบข้าวเป็นสีเหลืองเนื่องจากขาดธาตุอาหารไนโตรเจนอย่างรุนแรง
แผ่นเทียบสีใบข้าว
คําแนะนําการจัดการปุ๋ยไนโตรเจนด้วยแผ่นเทียบสีใบข้าว
- ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 16-20-0 ในอัตรา 30 กก./ไร่ หลังจากหว่านข้าวแล้ว 15-20 วัน (เป็นปุ๋ยครั้งแรก)
- หลังการใส่ปุ๋ยครั้งแรกแล้ว เมื่อข้าวมีอายุประมาณ 30 วัน วัดความเข้มของสีใบข้าวด้วยแผ่นเทียบสี ใบข้าว โดยเลือกใบข้าวใบบนสุดที่คลี่กางเต็มที่ ซึ่งจะตรงกับใบที่สองหรือสามประมาณ 10 ใบกระจายทั่วแปลงห่างจากคันนาประมาณ 1 เมตร เพื่อใช้เป็นตัวแทนสีใบข้าวทั้งแปลงในช่วงเวลาเช้า
- วางใบขhาวบนแผ่นเทียบสีใบในแนวตั้ง และอย่าให้ใบข้าวโดนแสงแดดโดยใช้ตัวบังแสงแดด เนื่องจากแสงแดดอาจมีผลต่อระดับสีใบข้าว และอย่าเด็ดใบข้าวที่วัดสีออกจากต้น
- เฉลี่ยระดับความเข้มของสีใบข้าวที่วัดได้ ถ้ามีค่าเฉลี่ยมากกว่า 3 ไม่ต้องใส่ปุ๋ย แต่ถ้าความเข้มของสีใบมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3 หรือต่ำกว่า 3 ให้ใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) ในอัตรา 7-10 กก./ไร่ สำหรับข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง และ ในอัตรา
- ตรวจวัดสีใบข้าวทุก ๆ 7-10 วัน โดยใช้วิธีการเดิมถ้าใบข้าวมีค่าเฉลี่ยความเข้มของสีใบเท่ากับ 3 หรือต่ำกว่า ใส่ปุ๋ยยูเรียในอัตรา 7- 10 กก./ไร่ ทุกครั้ง กระทั่งข้าวเริ่มกำเนิดช่อดอก ตลอดระยะเวลาตั้งแต่เริ่มปลูกถึงข้าวตั้งท้องจะใส่ปุ๋ยประมาณ 2-3 ครั้ง รวมปริมาณไนโตรเจนที่ใส่ทั้งหมดระหว่าง 8-11 กก.N/ไร่ จะทำให้เกษตรกรสามารถใส่ปุ๋ยเคมีได้ตรงกับความต้องการของข้าวมากที่สุดสอดคล้องกับความอุดมสมบูรณ์ของดินแต่ละที่แต่ละแปลงแต่ละฤดูกาล ทําให้เกษตรกรลดการใช้ปุ๋ยเคมีซึ่งเท่ากับเป็นการลดต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรกรต่อไป
หมายเหตุ คําแนะนํานี้อาจนําไปประยุกต์ใช้ได้กับพันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสงที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น110 -120 วัน และมีลักษณะสีใบที่มีเฉดสีใกล้เคียงกัน
สิ่งที่มีผลต่อความเข้มของสีใบ
1. พันธุ์ข้าว เช่น พิษณุโลก2 มีสีใบเข้มกว่าพันธุ์ปทุมธานี1 และชัยนาท1 เล็กน้อย
2. วิธีการปลูก ปลูกด้วยวิธีปักดำสีใบจะเข้มกว่าวิธีหว่านน้ำตมเล็กน้อย
3. จำนวนต้นต่อพื้นที่
4. ฤดูกาล และการเปลี่ยนแปลงสภาพดินฟ้าอากาศแบบฉับพลัน
5. การขาดน้ำและการระบาดของโรค แมลงและวัชพืช
แนวทางการใช้แผ่นเทียบสี
1. เพื่อเพิ่มผลผลิต ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง ใส่ปุ๋ยเมื่อค่าสีใบต่ำกว่า 4
2. เพื่อลดต้นทุน ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง ใส่ปุ๋ยเมื่อค่าสีใบต่ำกว่า 2 หรือ 3 และข้าวไวต่อช่วงแสง ใส่ปุ๋ยเมื่อค่าสีใบต่ำกว่า 2
การวัดระดับธาตุไนโตรเจนในต้นข้าว โดยใช้แผ่นเทียบสีใบข้าว