องค์ประกอบการผลิต (Components) | วิธีปฏิบัติและเกณฑ์กำหนด (Implementation and requirement) | วิธีตรวจสอบ (Assessment and inspection procedures) |
(1) การจัดการพื้นที่ปลูก หรือแหล่งผลิต | (1) กำหนดขอบเขตพื้นที่อย่างชัดเจนจัดทำแผนที่นารายโฉนดที่รวมกันเป็น ผืนใหญ่ มีพิกัด GPS โดยรอบแปลงนา จัดทำทะเบียนนารายเกษตรกร ข้อมูลสภาพแวดล้อม กิจกรรมเกษตรต่าง ๆ ในพื้นที่ ทั้งนี้ มีช่วงระยะปรับเปลี่ยน เข้าสู่ระบบอินทรีย์ 1 ปี | (1) ตรวจพินิจสภาพแวดล้อมประกอบแผนที่และจุดพิกัดตรวจสอบนา และเจ้าของนาให้ตรงกันตามทะเบียนที่ได้รับและจำนวนพื้นที่นาของเกษตรกรแต่ละราย ให้รหัสนา/คนตรงกัน ตรวจกิจกรรมเกษตรอื่น ๆ ในพื้นที่ |
1.1 ดินและน้ำ | 1.1 ไม่มีวัตถุอันตรายที่อาจจะทำให้เกิดการตกค้างหรือปนเปื้อนในผลผลิตข้าว | 1.1 ตรวจพินิจสภาพแวดล้อมหากอยู่ในสภาวะเสี่ยง ให้เก็บตัวอย่างตรวจ |
1.2 แนวป้องกันการปนเปื้อน และปัจจัยเสี่ยง/ปัจจัยสนับสนุน | 1.2 พื้นที่โดยรอบ โดยเฉพาะด้านบนที่ น้ำไหลลงมา จะต้องไม่มีแหล่งกำเนิดวัตถุอันตราย หากมีจะต้องทำแนวป้องกันการปนเปื้อนทั้งทางน้ำและทางอากาศ | 1.2 ตรวจพินิจสภาพแวดล้อม แนวป้องกันการปนเปื้อนที่จัดทำขึ้น เช่น คันนาขนาดใหญ่ สำรวจแหล่งต้นน้ำเข้านา ทำข้อมูลปัจจัยสนับสนุน เช่น ป่าไม้ |
1.3 กิจกรรมเกษตร อื่น ๆ ในพื้นที่ | 1.3 สนับสนุน/เกื้อกูลการผลิตข้าวอินทรีย์หากขัดกับข้อกำหนดจะต้องแบ่งแยกชัดเจน | 1.3 ตรวจพินิจและสอบถามกิจกรรม ในพื้นที่ ประเมินการเกื้อกูล/ความเสี่ยง |
(2) การจัดการ เพาะปลูกข้าว หรือวิธีการผลิต | (2) จะต้องจัดทำแผนการเพาะปลูกข้าวอินทรีย์ในทุกองค์ประกอบ เสนอให้หน่วยตรวจสอบ/รับรอง และร่วมแก้ไขปรับปรุงให้เหมาะสม | (2) ประเมินแผนการผลิตว่าตรงกับหลักการเกษตรอินทรีย์ หากมีข้อใดขัด กับหลักการให้แนะนำและแก้ไข ปรับปรุงร่วมกับผู้ผลิต (ชาวนา) |
2.1 พันธุ์ข้าวและ เมล็ดพันธุ์ | 2.1 ใช้พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 หรือ กข15 จากแหล่งเมล็ดพันธุ์ข้าวอินทรีย์ หรือขยายพันธุ์ข้าวใช้เองภายในกลุ่มผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ | 2.1 ตรวจสอบพันธุ์ข้าวตรงตามมาตรฐานและแหล่งที่ได้มาของเมล็ดพันธุ์ข้าว จำนวนเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ใช้ ในฤดูปลูก |