Loading...
บทความ

สัตว์ศัตรูข้าว และการป้องกันกำจัด

  • หนู

  • นก

  • หอยเชอรี่

  • ปูนา

หนู  

ลักษณะการทำลาย

หนูเป็นสัตว์ฟันแทะซึ่งเป็นศัตรูสำคัญของข้าว ได้แก่ หนูพุกใหญ่ หนูพุกเล็ก หนูนาใหญ่ หนูนาเล็ก หนูหริ่งนาหางยาวและหนูหริ่งนาหางสั้น ระบาดทำความเสียหายให้ข้าวตลอดระยะการเจริญเติบโต  และหลังการเก็บเกี่ยว

ช่วงเวลาระบาด

  •  ทุกฤดูปลูก

การป้องกันกำจัด

  • กำจัดวัชพืชบริเวณแปลงปลูกและพื้นที่ใกล้เคียงเพื่อไม่ให้เป็นที่อาศัยของหนู

  • ใช้วิธีกล เช่น การขุดจับ การดักด้วยกรง กับดักและการล้อมตี

  • ใช้วิธีทางชีวภาพ โดยอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ เช่น นกฮูก นกแสก เหยี่ยว พังพอน และงูชนิดต่าง ๆ

  • เมื่อพบร่องรอยของหนูหรือเมื่อมีการระบาดรุนแรง ให้ป้องกันกำจัดหนู โดยวิธีผสมผสาน คือ ใช้กรงดักหรือกับดักร่วมกับเหยื่อพิษ โดยจะต้องเก็บซากหนูตาย และถาดเหยื่อพิษออกจากนาให้หมดหลังจากวางเหยื่อแล้ว

 

นก

ลักษณะการทำลาย

นกเป็นสัตว์ปีก ซึ่งเป็นศัตรูของข้าวที่สำคัญ ได้แก่ นกกระติ๊ดขี้หมู ทำลายโดยจิกกินเมล็ดข้าว  ตั้งแต่เมล็ดอยู่ในระยะน้ำนมจนถึง ระยะเก็บเกี่ยว

ช่วงเวลาระบาด

  •  ทุกฤดูปลูก

การป้องกันกำจัด 

  • กำจัดวัชพืชเพื่อทำลายแหล่งอาศัยและแหล่งอาหารซึ่งเป็นพวกเมล็ดวัชพืช
  • ใช้หุ่นไล่กาหรือคนไล่
  • ใช้วัสดุสะท้อนแสง เช่น กระจกเงา เป็นต้น

 

หอยเชอรี่

ลักษณะการทำลาย

หอยเชอรี่มีลักษณะคล้ายหอยโข่ง มีเปลือกสีเหลืองปนน้ำตาล หรือสีเขียว เข้มปนดำ  วางไข่ได้ตลอดทั้งปี ครั้งละ 400-3,000 ฟอง ตามต้นพืชใกล้แหล่งน้ำ ไข่เป็นฟองเล็ก ๆ สีชมพู   และฟักเป็นตัว ภายใน 7-12 วัน เริ่มกัดกันต้นกล้าข้าวจนถึงระยะแตกกอ

ช่วงเวลาระบาด

  • ทุกฤดูปลูก

การป้องกันกำจัด

  • ใช้วัสดุกั้นขวางทางระบายน้ำเข้านา
  • ใช้ไม้ปักรอบคันนาทุกระยะ 10 เมตร เพื่อล่อให้หอยมาวางไข่ เก็บตัวหอยและไข่ทำลาย
  • ระบายน้ำออกจากนาหลังปักดำเพื่อให้สภาพไม่เหมาะสมกับการอยู่อาศัยของหอย
  • อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ ได้แก่ นกปากห่าง
  • เลือกใช้สารจากพืช เช่น ทองพันชั่ง ยี่โถ ผักเซียงดา ยาสูบ

 

ปูนา

ลักษณะการทำลาย 

ปูนาชอบขุดรูอาศัยอยู่ตามคันนา ตัวมีสีน้ำตาลเข้ม กระดองกว้างประมาณ  3-8 เซนติเมตร ทำลายต้นข้าวตั้งแต่อยู่ในแปลงกล้าจนถึงระยะปักดำ โดยกัดกินโคนต้นเหนือพื้นดิน    ประมาณ 3-5 เซนติเมตร พบต้นข้าวเสียหายเป็นหย่อม ๆ

ช่วงเวลาระบาด 

  • ระยะแตกกอ (มิถุนายน ถึง สิงหาคม)

การป้องกันกำจัด

  • ดักจับ โดยใช้ลอบดักตามทางน้ำไหลหรือขุดหลุมฝังปีบและใช้เศษปลาเน่าเป็นเหยื่อ
  • ระบายน้ำออกจากนาหลังปักดำ เพื่อปรับสภาพให้ไม่เหมาะกับการอยู่อาศัยของปูนา
  • เลือกใช้สารจากพืชมีพิษ เช่น หางไหล ป้องกันกำจัดปู