โรคใบจุดสีน้ำตาล ( Brown Spot Disease )
โรคใบจุดสีน้ำตาล ( Brown Spot Disease )
โรคใบจุดสีน้ำตาล ( Brown Spot Disease )
- โรคใบจุดสีน้ำตาล ( Brown Spot Disease )
- แหล่งที่พบ : ทั้งนาน้ำฝน และนาชลประทาน ในภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
และภาคใต้
- สาเหตุ : เชื้อรา Bipolaris oryzae (Breda de Haan) Shoemaker (Syn. Helminthosporium oryzae Breda de Haan)
อาการ
- แผลที่ใบข้าว พบมากในระยะแตกกอมีลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาล รูปกลมหรือรูปไข่ ขอบนอกสุดของแผลมีสีเหลือง
มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-1 มิลลิเมตร แผลที่มีการพัฒนาเต็มที่ขนาดประมาณ 1-2 x 4-10 มิลลิเมตร
บางครั้งพบแผลไม่เป็นวงกลมหรือรูปไข่ แต่จะเป็นรอยเปื้อนคล้ายสนิมกระจัดกระจายทั่วไปบนใบข้าว
แผลยังสามารถเกิดบนเมล็ดข้าวเปลือก(โรคเมล็ดด่าง) บางแผลมีขนาดเล็ก บางแผลอาจใหญ่คลุมเมล็ดข้าวเปลือก
ทำให้เมล็ดข้าวเปลือกสกปรก เสื่อมคุณภาพ เมื่อนำไปสีข้าวสารจะหักง่าย
การแพร่ระบาด
- เกิดจากสปอร์ของเชื้อราปลิวไปตามลม และติดไปกับเมล็ด “การปลูกข้าวแบบต่อเนื่อง ไม่พักดินและขาดการปรับปรุงบำรุงดิน
เพิ่มการระบาดของโรคอาการใบจุดสีน้ำตาลที่ใบ
การป้องกันกำจัด
- 1. ใช้พันธุ์ต้านทานที่เหมาะสมกับสภาพท้องที่ และโดยเฉพาะพันธุ์ที่มีคุณสมบัติต้านทานโรคใบสีส้ม เช่น ภาคกลางใช้พันธุ์ปทุมธานี 1 ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้พันธุ์เหนียวสันป่าตอง และหางยี 71
2. ปรับปรุงดินโดยการไถกลบฟาง หรือเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ดินโดยการปลูกพืชปุ๋ยสด หรือปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อช่วยลดความรุนแรงของโรค
3. พื้นที่ที่มีการระบาดเป็นประจำ ควรคลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น
แมนโคเซบ* หรือคาร์เบนดาซิม*+แมนโคเซบ* (ใช้ด้วยความระมัดระวังเพราะเป็นสารขัดขวางการทำงานของต่อมไร้ท่อ) อัตรา 3 กรัมต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม เป็นต้น
4. กำจัดวัชพืชในนา ดูแลแปลงให้สะอาด และใส่ปุ๋ยในอัตราที่เหมาะสม
5. ถ้าพบอาการของโรคใบจุดสีน้ำตาลรุนแรงทั่วไป 10 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ใบในระยะข้าวแตกกอ หรือในระยะที่ต้นข้าวตั้งท้องใกล้ออกรวง เมื่อพบอาการใบจุดสีน้ำตาลที่ใบธงในสภาพฝนตกต่อเนื่อง อาจทำให้เกิดโรคเมล็ดด่าง ควรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น โพรพิเนบ ไดฟีโนโคนาโซล+โพรพิโคนาโซล* อีดิเฟนฟอส เฮกซะโคนาโซล (ไม่ควรคลุกหรือแช่เมล็ดเพราะมีผลต่อความงอก) ครีซอกซิม-เมทิล เป็นต้น ตามอัตราที่ระบุ