โรคกาบใบแห้ง( Sheath blight Disease )
โรคกาบใบแห้ง( Sheath blight Disease )
โรคกาบใบแห้ง( Sheath blight Disease )
- โรคกาบใบแห้ง( Sheath blight Disease )
- แหล่งที่พบ : นาชลประทาน ภาคกลาง ภาคเหนือ และ ภาคใต้
- สาเหตุ : เชื้อรา Rhizoctonia solani J.G. Kühn
อาการ
- เริ่มพบโรคในระยะแตกกอ จนถึงระยะใกล้เก็บเกี่ยว ยิ่งต้นข้าวมีการแตกกอมากเท่าใด
ต้นข้าวก็จะเบียดเสียดกันมากขึ้น โรคก็จะเป็นรุนแรง ลักษณะแผลสีเขียวปนเทา ขนาดประมาณ 1-4 x 2-10 มิลลิเมตร
ปรากฏตามกาบใบ ตรงบริเวณใกล้ระดับน้ำ แผลจะลุกลามขยายใหญ่ขึ้นจนมีขนาดไม่จำกัดและลุกลามขยายขึ้นถึงใบข้าว ถ้าเป็นพันธุ์ข้าวที่อ่อนแอ แผลสามารถลุกลามถึงใบธงและกาบหุ้มรวงข้าว ทำให้ใบและกาบใบเหี่ยวแห้ง ผลผลิตจะลดลงอย่างมาก
การแพร่ระบาด
- เชื้อราสามารถสร้างเม็ดขยายพันธุ์
อยู่ได้นานในตอซังหรือวัชพืชในนาตามดินนา
และมีชีวิตข้ามฤดูหมุนเวียนทำลายข้าวได้ตลอดฤดูการทำนา
การป้องกันกำจัด
- 1. หลังเก็บเกี่ยวข้าว และเริ่มฤดูใหม่ ควรพลิกไถหน้าดินตากแดด เพื่อทำลายเม็ดขยายพันธุ์ (Fruiting body) ของเชื้อราสาเหตุโรค
2. กำจัดวัชพืชตามคันนาและแหล่งน้ำ เพื่อเพื่อทำลายพืชอาศัยของเชื้อราสาเหตุโรค
3. ใช้เชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ เช่น บาซิลลัส ซับทิลิส (Bacillus subtilis) เป็นต้น ตามอัตราที่ระบุ
4. ใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น วาลิดามัยซิน เพนไซคูรอน ไพราโคลสโตรบิน เฮกซะโคนาโซล และ
5. ไตรฟลอกซีสโตรบิน+ทีบูโคนาโซล* หรืออีดิเฟนฟอส (ใช้ด้วยความระมัดระวังเพราะเป็น สารขัดขวางการทำงานของต่อมไร้ท่อ) เป็นต้น ตามอัตราที่ระบุ โดยพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อรานี้ในบริเวณที่เริ่มพบโรคระบาด ไม่จำเป็นต้องพ่นทั้งแปลง เพราะโรคกาบใบแห้งจะเกิดเป็นหย่อมๆ