โรคใบสีแสด( Orange Leaf Disease )
โรคใบสีแสด( Orange Leaf Disease )
โรคใบสีแสด( Orange Leaf Disease )
- โรคใบสีแสด( Orange Leaf Disease )
- แหล่งที่พบ : ในนาชลประทาน เขตภาคกลาง
- สาเหตุ : เชื้อไฟโตพลาสมา Candidatus Phytoplasma asteris
อาการ
- ข้าวเป็นโรคได้ตั้งแต่ระยะแตกกอจนถึงระยะตั้งท้อง ต้นข้าวที่เป็นโรคนี้ ใบแสดงอาการสีแสดจากปลายใบที่ใบล่าง และเป็นสีแสดทั่วทั้งใบ ยกเว้นเส้นกลางใบ ใบที่เป็นโรคจะม้วนจากขอบใบทั้งสองข้างเข้าหาเส้นกลางใบ ใบที่เป็นโรคจะม้วนจากขอบใบทั้งสองข้างเข้ามาหาเส้นกลางใบ และใบจะแห้งตายในที่สุด ต้นข้าวสูงตามปกติ แต่แตกกอน้อย และตายอย่างรวดเร็ว โรคใบสีแสดนี้เกิดเป็นกอๆ ไม่แพร่กระจายเป็นบริเวณกว้างเหมือนโรคใบสีส้ม ในกรณีที่ข้าวได้รับเชื้อตั้งแต่ระยะกล้า ใบที่มีเชื้อจะกางออกเกือบตั้งฉากกับลำต้น และเป็นสีเหลืองซีดทั้งต้น
การแพร่ระบาด
- เชื้อสาเหตุโรคถ่ายทอดได้โดยแมลงพาหะ คือ เพลี้ยจักจั่นปีกลายหยัก และสามารถอาศัยอยู่ตามข้าวและหญ้าชนิดต่างๆ
การป้องกันกำจัด
- 1. กำจัดวัชพืช ต้นเป็นโรค และพืชอาศัยของเชื้อไฟโตพลาสมาและเพลี้ยจักจั่นปีกลายหยัก
2. ใช้พันธุ์ข้าวต้านทานเพลี้ยจักจั่นปีกลายหยัก เช่น กข1 กข3 เป็นต้น แต่ไม่ควรปลูกข้าวพันธุ์ดังกล่าว ติดต่อกันหลายฤดูปลูก เนื่องจากแมลงสามารถปรับตัว เข้าทำลายพันธุ์ข้าวที่ต้านทานได้
3. ใช้สารป้องกันกำจัดแมลงพาหะ ได้แก่ ใช้สารป้องกันกำจัดแมลงในระยะที่แมลงเป็นตัวอ่อน เช่น ไดโนทีฟูเรน บูโพรเฟซิน หรือ อีโทเฟนพรอกซ์ ไม่ควรใช้สารป้องกันกำจัดแมลงผสมสารป้องกันกำจัดโรคพืชหรือสารกำจัดวัชพืช เพราะอาจทำให้ประสิทธิภาพของสารป้องกันกำจัดแมลงลดลง ไม่ใช้สารกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ เช่น ไซเพอร์มิทริน ไซฮาโลทริน เดลทาเมทริน เป็นต้น
4. เมื่อมีโรคระบาดรุนแรง ควรงดปลูกข้าว 1-2 ฤดู เพื่อตัดวงจรชีวิตของแมลงพาหะ