Loading...
บทความ

โรคถอดฝักดาบ( Bakanae Disease )

โรคถอดฝักดาบ( Bakanae Disease )

โรคถอดฝักดาบ( Bakanae Disease )

  • โรคถอดฝักดาบ( Bakanae Disease )
  • แหล่งที่พบ : ในนาน้ำฝนภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • สาเหตุ : เชื้อรา Fusarium fujikuroi Nirenberg (Fusarium moniliforme J. Sheld)
    อาการ
  • พบโรคในระยะกล้า ต้นกล้าจะแห้งตายหลังจากปลูกได้ไม่เกิน 7 วัน แต่มักพบในข้าวอายุเกิน 15 วัน ระยะเริ่มแตกกอ ข้าวเป็นโรคจะต้นผอมสูงเด่นกว่ากล้าข้าวโดยทั่ว ๆ ไป ต้นข้าวผอมมีสีเขียวอ่อนซีด มักย่างปล้อง บางกรณีข้าวจะไม่ย่างปล้อง แต่รากจะเน่าช้ำเวลาถอนมักจะขาดตรงบริเวณโคนต้น ถ้าเป็นรุนแรงกล้าข้าวจะตาย หากไม่รุนแรงอาการจะแสดงหลังจากย้ายไปปักดำได้ 15-45 วัน โดยที่ต้นเป็นโรคจะสูงกว่าข้าวปกติ ใบมีสีเขียวซีด เกิดรากแขนงที่ข้อลำต้นตรงระดับน้ำ บางครั้งพบกลุ่มเส้นใยสีชมพูตรงบริเวณข้อที่ย่างปล้องขึ้นมา ต้นข้าวที่เป็นโรคมักจะตายและมีน้อยมากที่อยู่รอดจนถึงออกรวง
    การแพร่ระบาด
  • เชื้อราจะติดไปกับเมล็ด สามารถมีชีวิตในซากต้นข้าวและในดินได้เป็นเวลาหลายเดือน พบว่า หญ้าชันกาด เป็นพืชอาศัยของโรค
    การป้องกันกำจัด
  • 1. หลีกเลี่ยงการนำเมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่เคยเป็นโรคระบาดมาปลูก 2. พื้นที่ที่มีการระบาดเป็นประจำ ควรคลุกเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น แมนโคเซบ* หรือคาร์เบนดาซิม*+แมนโคเซบ* (ใช้ด้วยความระมัดระวังเพราะเป็นสารขัดขวางการทำงานของต่อมไร้ท่อ) อัตรา 3 กรัมต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม หรือแช่เมล็ดข้าวเปลือกก่อนหุ้มเมล็ดให้งอกก่อนปลูก ด้วยสารละลายของสารป้องกันกำจัดเชื้อราดังกล่าวในอัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือแช่เมล็ดข้าวในสารละลายโซเดียมไฮโปรคลอไรท์ (คลอร็อกซ์) ความเข้มข้น 5 เปอร์เซ็นต์หรือ อัตรา 1 ต่อน้ำ 9 ส่วน ความเข้มข้น 5 เปอร์เซ็นต์หรือ คลอร็อกซ์ อัตรา 1 : น้ำ 9 ส่วน 3. ควรกำจัดต้นข้าวที่เป็นโรคโดยการถอนและเผาทิ้ง เนื่องจากสปอร์ของเชื้อราสามารถปลิวไปตกบนรวงข้าวอื่น 4. เมื่อเกี่ยวข้าวแล้ว ควรไขน้ำเข้าที่นาและไถพรวน ปล่อยน้ำเข้าที่นาประมาณ 1-2 สัปดาห์ เพื่อลดปริมาณเชื้อราสาเหตุโรคที่ตกค้างในดิน 5. พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เฮกซะโคนาโซล หรือ ครีซอกซิม-เมทิล ตามอัตราที่ระบุ
    ข้อควรระวัง