โรคใบขีดโปร่งแสง( Bacterial Leaf Streak Disease )
โรคใบขีดโปร่งแสง( Bacterial Leaf Streak Disease )
โรคใบขีดโปร่งแสง( Bacterial Leaf Streak Disease )
- โรคใบขีดโปร่งแสง( Bacterial Leaf Streak Disease )
- แหล่งที่พบ : ในนาน้ำฝน และนาชลประทาน เขตภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้
- สาเหตุ : เชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas oryzae pv. oryzicola (Fang et al., 1957) Swings et al., 1990
อาการ
- โรคนี้เป็นได้ตั้งแต่ระยะข้าวแตกกอจนถึงออกรวง อาการปรากฏที่ใบ เริ่มแรกเห็นเป็นขีดช้ำยาวไปตามเส้นใบ ต่อมาค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือส้ม เมื่อแผลขยายรวมกันก็จะเป็นแผลใหญ่ แสงสามารถทะลุผ่านได้และพบกลุ่มเซลล์แบคทีเรียในรูปหยดน้ำสีเหลืองคล้ายยางสนกลมๆ ขนาดเล็กเท่าหัวเข็มหมุดปรากฏอยู่บนแผล ความยาวของแผลขึ้นอยู่กับความต้านทานของพันธุ์ข้าวและความรุนแรงของเชื้อ ในพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคแผลจะขยายจนใบไหม้ไปถึงกาบใบ ลักษณะของแผลจะคล้ายคลึงกับเกิดบนใบ ส่วนในพันธุ์ต้านทาน จำนวนแผลจะน้อยและแผลจะไม่ขยายตามความยาวของใบ รอบๆ แผลจะมีสีน้ำตาลดำ
การแพร่ระบาด
- ในสภาพที่มีฝนตก ลมพัดแรง จะช่วยให้โรคแพร่ระบาดอย่างกว้างขวางรวดเร็ว และถ้าสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม ใบข้าวที่แตกใหม่ อาจไม่แสดงอาการโรคเลย
การป้องกันกำจัด
- 1. ในดินที่อุดมสมบูรณ์ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมาก
2. ไม่ควรปลูกข้าวแน่นเกินไปและอย่าให้ระดับน้ำในนาสูงเกินควร
3. ใช้สารป้องกันกำจัดที่มีทองแดงเป็นองค์ประกอบ เช่น คอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ ไตรเบสิคคอปเปอร์ซัลเฟต ซิงค์ไทอะโซล เป็นต้น ต้องฉีดพ่นช่วงเย็นที่ไม่มีแสงแดด เพื่อป้องกันการเกิดความเป็นพิษกับใบข้าวจากสารเคมีดังกล่าว
4. ควรเฝ้าระวังการเกิดโรคถ้าปลูกข้าวพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคนี้ เช่น พันธุ์ขาวดอกมะล 105 กข15 กข6 เหนียวสันป่าตอง พิษณุโลก 2 เป็นต้น