เพลี้ยแป้งทำลายราก( )
เพลี้ยแป้งทำลายราก( )
- เพลี้ยแป้งทำลายราก( )
- ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cataenococcus sp.
- วงศ์ : Pseudococcidae
- อันดับ : Homoptera
- ชื่อสามัญอื่น :
- รายละเอียด
เพลี้ยแป้งทำลายราก Cataenococcus sp. ตัวเต็มวัยเพศเมีย มีลำตัวอ่อนนุ่ม สีน้ำตาลเข้มปนแดง ขนาดยาวประมาณ 2-3 มิลลิเมตร กว้าง 1.5-2 มิลลิเมตร มีสารไขแป้ง (mealy wax) ปกคลุมอยู่บางๆ ตามตัว เมื่อล้างสารไขแป้งที่ปกคลุมอยู่ตามลำตัวออกแล้ว จะเห็นลำตัวเป็นปล้องๆ ได้ชัดเจน เคลื่อนไหวช้ามาก เพศผู้มีขนาดเล็กกว่า มีปีก และสีเหลืองซีด
-
ลักษณะการทำลายและการระบาด
เพลี้ยแป้ง ชนิดนี้พบทำลายเฉพาะพื้นที่บางแห่งเท่านั้น เช่น ที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย น่าน และแม่ฮ่องสอน ความเสียหายเกิดขึ้นบางจุดในแปลงปลูก โดยพบเพลี้ยแป้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยเกาะเป็นกลุ่ม ดูดกินน้ำเลี้ยงและอาศัยที่ส่วนรากของข้าวไร่ ต้นข้าวที่ถูกทำลาย มีใบเหลืองซีด การทำลายต้นข้าวระยะหลังงอกถึงระยะแตกกอ ทำให้ชะงักการเจริญ เติบโต แคระแกรนผิดปรกติ และถ้ามีการระบาดรุนแรง ต้นข้าวจะเหี่ยวและแห้งตายในที่สุด การเคลื่อนที่และแพร่ระบาดจากต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่งมีมด (tending ants) เป็นแมลงพาหะเช่นเดียวกับเพลี้ยอ่อนที่ราก"
- การป้องกันกำจัด
1) ตั้งแต่เริ่มพบอาการเสียหายจากเพลี้ยอ่อน ค่อยๆ ถอนต้นข้าวที่ถูกทำลาย เพื่อให้เพลี้ยอ่อนติดขึ้นมากับรากข้าวมากที่สุด และนำไปทำลายทิ้ง
2) ป้องกันกำจัดมด ที่เป็นแมลงพาหะ ขุดทางเดินบริเวณระบบราก และนำเพลี้ยอ่อนไปกระจายจากต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่ง
3) ใช้สารฆ่าแมลงคาร์บาริล (เซฟวิน 85% ดับบลิวพี) หรือมาลาไทออน (มาลาไธออน 57% อีซี) อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นบริเวณโคนต้นข้าว เฉพาะบริเวณที่มีเพลี้ยอ่อนระบาดเท่านั้น