Loading...
บทความ

โรคกล้าเน่า( Seedling Rot Disease in Nursery Box )

โรคกล้าเน่า( Seedling Rot Disease in Nursery Box )

โรคกล้าเน่า( Seedling Rot Disease in Nursery Box )

  • โรคกล้าเน่า( Seedling Rot Disease in Nursery Box )
  • แหล่งที่พบ : กระบะตกกล้าที่ใช้กับรถปักดำ ในพื้นที่ที่ใช้เครื่องปักดำข้าว
  • สาเหตุ : เชื้อรา Bipolaris oryzae (Breda de Haan) Shoemaker เชื้อรา Curvularia lunata (Wakker) Boedijn เชื้อรา Fusarium incarnatum (Roberge) Sacc. (Syn. Fusarium semitectum Berk. & Ravenel) เชื้อรา Fusarium verticillioides (Sacc.) Nirenberg (Syn. Fusarium moniloforme J. Sheld.) เชื้อรา Fusarium oxysporum Schltdl. เชื้อรา Sarocladium oryzae (Sawada) W.Gams & D. Hawksw. เชื้อรา Sclerotium sp.
    อาการ
  • เริ่มพบอาการได้ในระยะหลังจากการตกกล้าข้าวในกระบะเพาะโดยจะเริ่มพบเมล็ดข้าวบางส่วนที่เพาะไม่งอกและมีเส้นใยของเชื้อราปกคลุม ส่วนเมล็ดที่งอกต้นกล้าจะมีการเจริญเติบโตช้ากว่าต้นกล้าข้าวปกติ และเมื่อถอนต้นกล้าข้าวขึ้นมาดู ก็จะพบส่วนรากและโคนต้นกล้ามีแผลสีน้ำตาล และแผลที่เกิดบนโคนต้นจะลุกลามขึ้นไปยังส่วนบนของต้นกล้า ต่อจากนั้นจะทำให้ต้นกล้าเน่าตาย ในขณะเดียวกันเชื้อราสาเหตุของโรคจะขยายจากจุดเริ่มต้นที่เป็นโรค ออกไปบริเวณโดยรอบไปยังต้นกล้าข้างเคียง โดยในกรณีที่มีการตกกล้าที่หนาแน่น เชื้อราสาเหตุของโรคสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆของกระบะเพาะได้อย่างรวดเร็ว ต่อจากนี้ก็จะพบอาการตายของต้นกล้าข้าวเป็นหย่อมๆ กรณีที่เป็นโรคในกระบะกล้ารุนแรงทำให้ไม่สามารถนำต้นกล้าข้าวนั้นไปใช้ปักดำได้
    การแพร่ระบาด
  • โดยการใช้เมล็ดพันธุ์ที่เป็นโรคเมล็ดด่างมาทำการตกกล้า
    การป้องกันกำจัด
  • 1. ไม่ควรใช้เมล็ดพันธุ์จากแปลงที่มีการระบาดของโรคเมล็ดด่างมาก่อน 2. คลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น คาร์เบนดาซิม* + แมนโคเซบ* (ใช้ด้วยความระมัดระวังเพราะเป็นสารขัดขวางการทำงานของต่อมไร้ท่อ) ในอัตรา 3 กรัมต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม เป็นต้น หรือพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อราตามพื้นที่การระบาด ดังนี้ ภาคเหนือตอนบน พ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อราเฮกซะโคนาโซล ลงบนเมล็ดพันธุ์ก่อนโรยแกลบเผาคลุมเมล็ด ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง พ่นคาร์เบนดาซิม* 2 ครั้ง (ใช้ด้วยความระมัดระวังเพราะเป็นสารขัดขวางการทำงานของต่อมไร้ท่อ) ลงบนเมล็ดพันธุ์ก่อนโรยแกลบเผาคลุมเมล็ด และหลังเปิดตาข่ายกรองแสง 3. ล้างทำความสะอาดกระบะเพาะกล้าหลังใช้ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ ได้แก่ สารคลอรีน 4. เผาทำลายต้นกล้าข้าวที่เป็นโรคเน่าตายในกระบะเพาะ 5. การใช้ชีววิธี โดยใช้เชื้อราปฏิปักษ์ไตรโครเดอร์มา (Trichoderma harzianum) คลุกเมล็ดก่อนเพาะกล้า หรือพ่นหัวเชื้อสดเชื้อราไตรโครเดอร์มา 2 ครั้ง ก่อนโรยแกลบเผาคลุมเมล็ด และหลังเปิดตาข่ายกรองแสง
    ข้อควรระวัง