Loading...
บทความ

ด้วงดำ (black beetle หรือ scarab beetle)( Scarab Beetle )

ด้วงดำ (black beetle หรือ scarab beetle)( Scarab Beetle )

  • ด้วงดำ (black beetle หรือ scarab beetle)( Scarab Beetle )
  • ชื่อวิทยาศาสตร์ : Redtenbacher / Fairmaire
  • วงศ์ : Scarabaeidae
  • อันดับ : Coleoptera
  • ชื่อสามัญอื่น : ด้วงซัดดัม หรือด้วงซัดดำ
  • รายละเอียด
    ด้วงดำ เป็นแมลงจำพวกด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นศัตรูที่สำคัญของการปลูกข้าว โดยวิธีหว่านข้าวแห้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะบริเวณทุ่งกุลาร้องไห้ ได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ ยโสธร และอุบลราชธานี พบมี 2 ชนิด คือ ด้วงดำขนาดตัวใหญ่ Heteronychus lioderes Redtenbacher (ภาพที่ 1 ซ้าย) และขนาดตัวเล็ก Alissonotum cribratellum Fairmaire (ภาพที่ 1 ขวา) โดยทั้ง 2 ชนิดชอบบินมาเล่นแสงไฟตามบ้านเกษตรกร ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน และพฤศจิกายนถึงธันวาคม ชนิดที่พบทำลายข้าวในนาส่วนมากเป็นด้วงดำขนาดตัวใหญ่ (ภาพที่ 2) เกษตรกรในพื้นที่ระบาดรู้จักในชื่อ ด้วงซัดดัม หรือด้วงซัดดำ มักพบทำลายข้าวที่หว่านเร็วกว่าปกติ ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน และมีฝนทิ้งช่วง 15-45 วันหลังข้าวงอก
  • ลักษณะการทำลายและการระบาด
    ด้วงดำ ทำลายข้าวโดยการกัดกินส่วนอ่อนที่เป็นสีขาวอยู่ใต้ดินเหนือราก ทำให้ต้นข้าวมีอาการเหลือง เหี่ยว และแห้งตาย โดยทั่วไปต้นข้าวที่ถูกด้วงดำทำลายจะอยู่ในระยะต้นอ่อน อายุตั้งแต่ 15-45 วันหลังข้าวงอกและส่วนใหญ่พบในแปลงนาหว่านข้าวแห้งที่อยู่ในสภาพที่ขาดน้ำเนื่องจากฝนทิ้งช่วง ถ้าความชื้นในดินต่ำและฝนทิ้งช่วงนาน การระบาดจะรุนแรง (ภาพที่ 3) อาการทำลายคล้ายกับอาการขาดธาตุอาหารและการทำลายของเพลี้ยไฟ แต่ลักษณะการทำลายจะเป็นแนวตามยาว เนื่องจากตัวเต็มวัยจะเคลื่อนย้ายไปกัดกินต้นใหม่ โดยการมุดลงดิน ทำให้เห็นรอยขุดเป็นแนว ตัวเต็มวัยจะขุดหลุมอยู่ในดิน และกัดกินต้นข้าวเหนือผิวดิน และเมื่อขุดตามรอยขุยดินจะพบตัวเต็มวัยของด้วงดำ โดยส่วนใหญ่ต้นข้าว 1 ต้น จะพบด้วงดำเพียง 1 ตัว (ภาพที่ 4) และอาจพบ 2-3 ตัวต่อต้น แต่พบน้อยมาก ถ้าเป็นต้นข้าวต้นใหญ่อายุมากกว่า 1 เดือนขึ้นไป ใบข้าวจะเหลืองคล้ายการทำลายของหนอนกอข้าว ตัวเต็มวัยจะกัดกินส่วนของต้นอ่อนสีขาวที่อยู่ใต้ดินเหนือรากข้าว (mesocotyl) โดยกัดกินส่วนเจริญภายในลำต้น แต่ต้นข้าวจะไม่ขาด (ภาพที่ 5) ตำแหน่งที่พบด้วงดำอยู่ระดับเดียวกับรากข้าว ลึกจากผิวดินประมาณ 5 เซนติเมตร ลักษณะการแพร่กระจายไม่แน่นอน
  • พืชอาศัย
    ข้าว พืชตระกูลหญ้า และพวกกก
  • การป้องกันกำจัด
    1) ปลูกข้าวโดยวิธีปักดำ
    2) หากต้องการปลูกโดยวิธีหว่านข้าวแห้ง ควรหว่านข้าวตามฤดูกาล (สิงหาคม) ไม่ควรหว่านช่วงระหว่างปลายเดือนเมษายนถึงต้นมิถุนายน เพื่อหลีกเลี่ยงตัวเต็มวัยของด้วงดำที่ฟักออกจากดักแด้ในดินหลังฝน (ช่วงสงกรานต์)
    3) ล่อและทำลายตัวเต็มวัยของด้วงดำโดยใช้หลอดไฟชนิดแบล็กไลท์ที่เกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนิยมใช้ล่อแมลงดานา
    4) สำรวจนาข้าวเมื่อพบตัวเต็มวัยด้วงดำในกับดักแสงไฟปริมาณมากกว่าปกติ