บทความ
การจัดทำแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว
1. การคัดเลือกพื้นที่ทำแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ดังนี้
1.1 ดินมีความอุดมสมบูรณ์ดี
1.2 มีแหล่งน้ำที่เหมาะสม เพียงพอต่อการเพาะปลูก
มีระบบชลประทานที่ดี
1.3
มีเส้นทางคมนาคมสะดวก เพื่อขนส่งวัสดุอุปกรณ์การผลิตและผลผลิตได้สะดวกรวดเร็ว
และแปลงอยู่ใกล้โรงงานปรับปรุงสภาพ
เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเสื่อมสภาพคุณภาพเมล็ดพันธุ์
1.4 พื้นที่ติดต่อกันเป็นบริเวณแปลงใหญ่
เพื่อความสะดวกและบริเวณแปลงใกล้เคียงควรปลูกข้าวพันธุ์เดียวกัน
1.5
แปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ไม่ควรอยู่ในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อน้ำท่วมเป็นประจำ
และพื้นที่เสี่ยงต่อโรคและแมลง
1.6 ไม่ควรเป็นแปลงที่ปลูกข้าวพันธื่นมาก่อน
1.7 ไม่ควรเป็นแหล่งที่มีการระบาดของข้าววัชพืช เช่น
ข้าวแดง ข้าวดีด ข้าวเด้ง
2. การคัดเลือกเกษตรกรผู้จัดทำแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ ควรมีคุณสมบัติ ดังนี้
2.1
เกษตกรต้องมีความเข้าใจ
มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือเพื่อปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเมล็ดพันธุ์
2.2 มีความพร้อมในการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ และเงินทุนเพื่อดำเนินการผลิตเมล็ดพันธุ์
2.3 มีประสบการณ์ในการปลูกพืชที่ต้องการผลิต
3. การคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่จะผลิต
3.1 คัดเลือกพันธุ์ข้าวให้เหมาะสมกับพื้นที่ปลูกและระดับน้ำ
3.2 เป็นพันธุ์ที่เกษตรกรสนใจและนิยมปลูก
3.3 ต้านทานต่อโรคและแมลงที่สำคัญในพื้นที่
3.4 หลีกเลี่ยงพันธุ์ที่ไม่ทนทานต่อสภาพอากาศในบางฤดู
3.5 คัดเลือกพันธุ์ข้าวที่ตลาดต้องการ
4. การวางแผนการปลูกข้าว
4.1
การปลูกข้าวควรเป็นแปลงเดิมที่เคยปลูกพันธุ์นั้นๆ
4.2 กำจัดข้าวเรื้อก่อนเปลี่ยนพันธุ์ใหม่
4.3 ห้ามปลูกข้าวพันธุ์ที่อ่อนแอต่ออากาศ
หนาวเย็นในช่วงกันยายน - พฤศจิกายน
4.4 หลีกเลี่ยงการปลูกข้าวในเดือนที่ระยะเก็บเกี่ยวตรงกับช่วงฝนตกชุก
5. การเตรียมดิน
5.1 กำจัดข้าวเรื้อก่อนเปลี่ยนพันธุ์ข้าวหรือเริ่มทำแปลงขยายพันธุ์ครั้งแรก
โดยตากหน้าดินหลังเก็บเกี่ยวข้าวอย่างน้อย 2 สัปดาห์ แล้วใช้โรตารี่ย่ำกลบตอซัง
จากนั้นระบายน้ำออกให้หน้าดินแห้ง 2 สัปดาห์ จนข้าวเรื้องอก จึงใช้ขลุบย่ำ
กลบข้าวเรื้อ หมักไว้ 1-2 สัปดาห์ ก่อนคราด ทำเทือก ปลูก
5.2 ปรับพื้นนาให้เรียบสม่ำเสมอ ทำร่อง ระบายน้ำทุก 4 เมตร
6. การเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าว
6.1 ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้
สุ่มเมล็ดพันธุ์เพื่อตรวจสอบ ข้าวปน และความงอกก่อนปลูก
6.2 อัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ต่อไร่ ที่เหมาะสมตามคำแนะนำ
ดังนี้
- นาหว่านน้ำตม
ควรใช้เมล็ดพันธุ์ 10 – 20 กิโลกรัมต่อไร่
- นาดำ เกษตรกรต้องมีการเพาะกล้าในแปลงในแปลงกล้า
ควรใช้เมล็ดพันธุ์ 5 กิโลกรัมต่อไร่
-
นาดำด้วยเครื่องปักดำ ควรใช้เมล็ดพันธุ์ 10 – 11 กิโลกรัมต่อไร่
- การโยนกล้า
ควรใช้เมล็ดพันธุ์ 3 – 4 กิโลกรัมต่อไร่
- นาหว่านข้าวแห้ง
เป็นการหว่านข้าวเพื่อคอยฝน ควรใช้เมล็ดพันธุ์ 15 กิโลกรัมต่อไร่
6.3 การตกกล้า
เป็นการเตรียมต้นกล้าข้าวในแปลงนาหรือในวัสดุเพาะ
และมีการดูแลรักษาต้นกล้าให้มีความแข็งแรงก่อนที่จะนำไปปลูกในแปลงนา
7. วิธีการปลูกข้าว
โดยเกษตรกรทั่วไปจะมีวิธีปลูกข้าว ดังนี้
7.1 หว่านน้ำตม เหมาะสำหรับพื้นที่อาศัยน้ำชลประทานที่ขาดแคลนแรงงาน
ทำนาหลายครั้งต่อปี ไม่มีการเปลี่ยนพันธุ์ โดยนำเมล็ดพันธุ์ข้าวแช่ในน้ำสะอาดนาน 1
- 2 ชั่วโมง นำขึ้นหุ้มอีก 36 - 48 ชั่วโมง จนเมล็ดงอกเป็นตุ่มตา
ค่อยนำไปหว่านในนาด้วยมือหรือเครื่องหว่านเมล็ด
7.2 ปักดำ เหมาะสำหรับพื้นที่อาศัยน้ำฝน
หรือมีการเปลี่ยนพันธุ์ข้าว เพื่อป้องกันปัญหาข้าวเรื้อ
และกรณีที่มีเมล็ดพันธุ์จำกัด แต่ต้องการขยายปริมาณมา
7.2.1 การตกกล้าในนาและปักดำด้วยคน ต้องกำจัดข้าวเรื้อในแปลงที่จะใช้ตกกล้า
นำเมล็ดพันธุ์ข้าวแช่และหุ้มเช่นเดียวกับวิธีหว่านน้ำตม จนเมล็ดงอกเป็นตุ่มตาจึงนำเมล็ดไปหว่านในนา
รอจนกล้าอายุ 20- 30 วัน
ค่อยถอนกล้าแล้วนำไปปักดำในนา ที่มีระดับน้ำไม่เกิน 10 เซนติเมตร
7.2.2
การตกกล้าและปักดำด้วยรถดำนา
ต้องร่อนทำความสะอาดวัสดุเพาะกล้าก่อนนำมาใช้ เพื่อป้องกันเมล็ดข้าวที่ติดมากับวัสดุเพาะ(ขี้เถ้าแกลบ)
นำเมล็ดพันธุ์ข้าวแช่และหุ้มเช่นเดียวกับวิธีหว่านน้ำตม แต่ลดระยะเวลาหุ้มลงเหลือ 24 ชั่วโมง จึงนำเมล็ดข้าวงอกไปโรยในกะบะอัตรา 200-250
กรัม(ข้าวแห้ง)ต่อถาด
แล้วหุ้มเมล็ดต่ออีก 24 ชั่วโมง
ค่อยนำกะบะไปเรียงในนาหรือลานเพาะกล้า
คลุมกะบะด้วยซาแรนต่ออีก 3 วันจึงเปิดซาแรนออก พอกล้าอายุได้ 15 – 22 วัน
ค่อยนำกล้าออกจากถาดไปปักดำในนาที่ระบายน้ำออกหมด
7.3 โยนกล้า เป็นการทำนาแบบใหม่
เพื่อควบคุมข้าววัชพืชและวัชพืชทั่วไป ลดต้นทุนการทำนาและเพิ่มผลผลิต
การโยนกล้าในแปลงควรมีระดับน้ำตื้น ๆ ประมาณ 1 เซนติเมตร ให้เดินโยนถอยหลัง
หลังโยนกล้า 1 – 2 วัน ให้เอาน้ำเข้านาและเพิ่มระดับน้ำขึ้นเรื่อยๆ จนถึง 5 – 10
เซนติเมตร
7.4 การหว่านข้าวแห้ง เหมาะสมหรับพื้นที่ปลูกที่มีฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วงเป็นประจำ
หลังจากการเตรียมแปลงไถดะ และไถแปรครั้งสุดท้ายให้หว่านเมล็ดข้าวลงไปโดยไม่ต้องคราดกลบ
เมล็ดจะตกไปอยู่ระหว่างก้อนดิน เมื่อฝนตกเมล็ดข้าวจะงอกตามปกติ
กรมการข้าวมีวิธีปลูกข้าวในแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ ดังนี้
1. พันธุ์คัด
-
นาที่จะใช้ปลูกทำพันธุ์คัดต้องเป็นนาที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินดีสม่ำเสมอ
และควรจะต้องปลูกพันธุ์นั้นซ้ำในแปลงเดิมทุกปี ไม่มีข้าวเรื้อหรือข้าวปน
สามารถควบคุมน้ำได้พอเหมาะ
- ระยะปลูก
ความยาวแถว 4 เมตร
ระยะระหว่างแถว 33
1/3 เซนติเมตร
ระยะระหว่างกอ 10
เซนติเมตร
ปักดำกอละ 1
ตัน
ระยะระหว่างผืน (Strip) 1 เมตร
-
ควรปลูกพันธุ์ละกระทงนาเพื่อป้องกันการผสมข้ามพันธุ์
ถ้ากระทงนากว้างมากและจำเป็นต้องปลูกสองพันธุ์ในกระทงเดียวกัน
ให้วนที่ว่างระหว่างพันธุ์ 4 เมตร
-
การปักดำข้าวพันธุ์คัดให้ปักดำแถวละรวง ถ้ากล้าปักดำไม่พอแถวห้ามนำกล้ารวงอื่นมาปักดำเพิ่ม
และห้ามซ่อมข้าวที่ตายไป
2. พันธุ์หลัก
-
นาที่ใช้ปลูกข้าวชั้นพันธุ์หลัก ควรมีความอุดมสมบูรณ์ของดินดี สม่ำเสมอ
และควรจะต้องปลูกพันธุ์นั้นซ้ำในแปลงเดิมทุกปี
เหตุผลเช่นเดียวกับการปลูกข้าวชั้นพันธุ์คัด
- ระยะปลูก
ความยาวแถว 4.50 เมตร
ระยะระหว่างแถว 25 เซนติเมตร (ไวต่อช่วงแสง) และ20 เซนติเมตร
(ไม่ไวต่อช่วงแสง)
ปักดำกอละ 1
ตัน
ระยะระหว่างผืน (Strip) 50 เซนติเมตร
- ควรปลูกพันธุ์ละกระทงนาเพื่อป้องกันการผสมข้ามพันธุ์
ถ้ากระทงนากว้างมากและจำเป็นต้องปลูกสองพันธุ์ในกระทงเดียวกัน
ให้วนที่ว่างระหว่างพันธุ์ 3 เมตร
-
การซ่อมแซมข้าวที่ตาย ให้รีบซ่อมโดยเร็วไม่ควรล่าช้ากว่า 7 วัน
เพราะจะทำให้ข้าวที่ซ่อมเจริญเติบโตไม่ทัน ทำให้ออกดอกช้า
3. พันธุ์ขยาย วิธีปลูกเช่นเดียวกับพันธุ์หลัก แต่เพิ่มจำนวนต้นปักดำเป็นจับละ
3 ต้น เว้นระยะระหว่างพันธุ์ 2 เมตร
4. พันธุ์จำหน่าย ปลูกเช่นเดียวกับพันธุ์ขยาย เว้นระยะระหว่างพันธุ์ 1 เมตร
8. การปฏิบัติดูแลรักษาแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว
8.1 การควบคุมระดับน้ำ
- ระยะข้าวเป็นต้นกล้า ระบายน้ำออกจากแปลงเทือกให้ดินหมาด
จนกว่าต้นข้าวจะสูงประมาณ 7 - 10เซนติเมตร ระบายน้ำเข้านาโดยค่อยๆ
เพิ่มระดับน้ำให้ระดับน้ำบริเวณโคนต้นกล้าสูงประมาณ 5 เซนติเมตร
- ระดับน้ำช่วงข้าวแตกกอที่เหมาะสมสูงประมาณ 5 - 10 เซนติเมตร
ข้าวสามารถเจริญเติบโตได้ดี
- ระดับน้ำช่วงข้าวสร้างรวงอ่อน (กำเนิดช่อดอก) ถึงข้าวออกดอก ระดับน้ำสูงประมาณ
10 - 15 เซนติเมตร
- ระดับน้ำช่วงหลังข้าวออกดอก
ให้รักษาระดับน้ำไว้ไปจนหลังข้าวออกดอกแล้ว 15 - 20 วัน
จึงปล่อยให้น้ำในนาลดระดับลงจนแห้ง ก่อนเก็บเกี่ยวให้ดินพอ มีความชื้นและเครื่องจักรลงทำงานเก็บเกี่ยวได้
8.2 การควบคุมกำจัดวัชพืช
- กำจัดวัชพืชโยการล่อให้งอกแล้วไถกลบ
- ใช้สารเคมีควบคุมกำจัดวัชพืช
-
สารกำจัดวัชพืชก่อนปลูก ได้แก่ พาราควอท ไกลโฟเสต กลูโฟซิเนต-แอมโนเนียม
- สารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนงอก
หรือยาคุมหญ้า ได้แก่ บิวทาคลอร์ เพรททิลาคลอร์ อ๊อกซาไดอะซอน
- สารกำจัดวัชพืชประเภทหลังงอก หรือยาฆ่าหญ้า ได้แก่
โปรปานิล ฟิโนซา-พรอบ-พี-เอทิล 2,4-ดี
8.3 การใส่ปุ๋ย
- ข้าวไวต่อช่วงแสง
แนะนำให้ใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง
ครั้งที่ 1
หลังหว่านข้าว 20 – 25 วัน หรือหลังปักดำ 7 – 10 วัน
ครั้งที่ 2
ใส่ระยะข้าวสร้างรวงอ่อน
-
ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง แนะนำให้ใส่ปุ๋ย 3 ครั้ง
ครั้งที่ 1
ใส่หลังหว่านข้าว 20 – 25 วัน หรือหลังปัก 7 – 10 วัน
ครั้งที่ 2
ใส่ระยะข้าวแตกกอ
ครั้งที่ 3
ใส่ระยะข้าวสร้างรวงอ่อน
8.4 การป้องกันกำจัดโรคและแมลง
-
ปลูกข้าวพันธุ์ต้านทานต่อโรคหรือแมลงที่มีระบาดอยู่ในพื้นที่แปลงนา
-
หมั่นตรวจแปลงนาเป็นประจำ
-
โรคที่เกิดจากเชื้อรา ต้องใช้สารเคมีช่วยในการป้องกันกำจัดตามคำแนะนำ
- การจัดการแปลงอื่นๆ เช่น ไม่ระบายน้ำจากแปลงที่เป็นโรคสู่แปลงข้างเคียง
การทำลายตอซังข้าวทันทีหลังเก็บเกี่ยวจะลดโรคและแมลงได้
9. การกำจัดพันธุ์ปน
9.1 ระยะกล้า ต้นกล้ามีลักษณะหรือสีผิดจากต้นกล้าธรรมดาให้ถอนทิ้ง
9.2 ระยะแตกกอ ดูลักษณะการแตกกอ
การชูใบ สีใบ ความสูงและสีของลำต้น หากมีลักษณะผิดปกติให้ถอนทิ้ง
9.3 ระยะออกดอก ถ้าแถวใดฟรือต้นใดออกดอกเร็วหรือช้ากว่าต้นส่วนใหญ่ให้ตัดทิ้ง
9.4 ระยะข้าวโน้มรวง
รวงข้าวจะโน้มเพราะเมล็ดมีน้ำหนักมาก จะมีพันธุ์ปนที่โน้มรวงไม่สม่ำเสมอ
9.5 ระยะเมล็ดสุกแก่
การตรวจแปลงจะทำได้ง่าย สังเกตความสม่ำเสมอของการสุกแก่
การตัดถอนพันธุ์ปนระยะนี้มีความสำคัญมาก
ข้าววัชพืช
มาจากการผสมขอข้าวป่าและข้าวปลูกหากระบาดมากจะไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้
เช่นข้าวมีหาง ข้าวดีด และข้าวแดง
10. การเก็บเกี่ยว
ระยะเวลาที่เหมาะสมเก็บเกี่ยว คือ เก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ระยะสุกแก่พอดี
ประมาณ 30 วันหลังข้าวออกดอก 80 % ควรมีการระบายน้ำออกจาแปลงนาก่อนเก็บเกี่ยว 7 –
10 วัน มีวิธีเก็บเกี่ยว 3 วิธี ดังนี้
1. การเก็บเกี่ยวด้วยแรงคน
2. การเก็บเกี่ยวด้วยเครื่องเกี่ยววางราย
3. การเก็บเกี่ยวด้วยเครื่องเกี่ยวนวด