บทความ
นกศัตรูข้าว
นกศัตรูข้าวที่สำคัญมี 9 ชนิด ได้แก่ นกกระติ๊ดขี้หมู นกกระติ๊ดตะโพกขาว นกกระจอกบ้าน นกกระจอกตาล นกกระจอกใหญ่ นกกระจาบธรรมดา นกกระจาบทอง นกเขาใหญ่ และนกพิราบป่า
ลักษณะการทำลาย
ความเสียหายที่เกิดกับข้าว แบ่งออกได้เป็น ความเสียหายในนาและความเสียหายในยุ้งฉาง สำหรับความเสียหายในนาข้าว ในการปลูกข้าวแบบนาหว่าน นกจะเริ่มทำลายและกินเมล็ดพันธุ์ข้าวหลังจากชาวนาหว่านข้าวแล้ว ส่วนสภาพข้าวนาสวนนกจะกินข้าวในแปลงตกกล้า และจะกินต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหนึ่ง แม้ว่าข้าวงอกแล้วก็ตาม เนื่องจากเมล็ดข้าวยังมีเอนโดสเปิร์ม สำหรับเป็นอาหารของนกได้ (ภาพที่ 1)
ความเสียหายจะเริ่มอีกครั้งตอนระยะข้าวเป็นน้ำนม และสร้างเมล็ด ถ้าต้นข้าวอยู่ในระยะเป็นน้ำนมและมีส่วนเป็นไตแข็งเพียงเล็กน้อย นกจะจิกที่รวงแล้วขบเมล็ดข้าวกินเฉพาะเนื้อแข็งและส่วนเป็นน้ำนม รวงข้าวจะยังมีเมล็ดติดอยู่กับรวง แต่มีรอยแตกเห็นชัดเจน รวงข้าวที่ถูกนกกินจะตั้งขึ้น ถ้าต้นข้าวเลยระยะเป็นน้ำนมจนแข็งหมดทั้งเมล็ดแล้ว นกจะใช้ปากรูดเมล็ดออกจากรวง แล้วคาบเมล็ดมาขบกินแต่ส่วนเนื้อภายใน ส่วนเปลือกปล่อยทิ้งไว้ใต้ต้นข้าวนั้นเอง (ภาพที่ 2 และ 3)
การป้องกันและกำจัดนกศัตรูข้าว
1. การใช้คนไล่ (bird boys) เป็นการใช้แรงงานคนในการไล่ ซึ่งวิธีนี้จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น หากเปลี่ยนแปลงเทคนิคการไล่บ่อยๆ และทราบชนิดของนกศัตรูข้าว ที่เป็นกลุ่มนกเป้าหมายในการไล่
2. การใช้เสียง (auditory) ทำให้นกตกใจและหนีไป เช่น ใช้ประทัด ซึ่งนกและมนุษย์ได้ยินเสียงในช่วงความถี่ที่ใกล้เคียงกัน ตั้งแต่ความถี่ต่ำกว่า 50 เฮิร์ต ไปจนถึงความถี่สูงกว่า 20 กิโลเฮิร์ต หรือตั้งแต่ Infrasound ไปจนถึง Ultrasound แต่นกมีความสามารถในการแยกแยะเสียงที่ถูกเปล่งออกมาติดๆ กันได้ดีกว่ามนุษย์
3. การมองเห็น (visual) เช่น การใช้สิ่งที่เคลื่อนไหวเมื่อลมพัด หรือสิ่งของที่สามารถสะท้อนแสงได้หรือการใช้หุ่นไล่กา (ภาพที่ 4) การใช้หุ่นที่เคลื่อนไหวได้จะให้ผลดีกว่าหุ่นที่หยุดนิ่ง และถ้าเคลื่อนไหวพร้อมเสียงด้วยจะได้ผลดีที่สุด นกจะตอบสนองกับสิ่งที่เคลื่อนไหวระยะรัศมี 30-50 เมตร แต่ถ้าเคลื่อนไหวพร้อมเสียงนกจะตอบสนองได้ในรัศมี 70-80 เมตร
4.
การกันไม่ให้นกเข้า (exclusion) เช่น ใช้ตาข่าย เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ
แต่ในพื้นที่ขนาดใหญ่มีค่าใช้จ่ายสูง นอกจากนี้อาจมีผลต่อนกชนิดอื่นๆ
ที่ไม่ใช่นกศัตรูข้าว ติดตาข่ายเสียชีวิต
5.
การจัดการแปลงนาไม่ให้เหมาะสมต่อการอยู่อาศัยของนก (habitat
modification) โดยการกำจัดวัชพืช รอบคันนา
6. นิเวศวิศวกรรม
(Eco-engineering) นิเวศวิศวกรรมในเชิงการป้องกันกำจัดนกศัตรูข้าว
หมายถึง
การปล่อยให้นกผู้ล่าในธรรมชาติล่านกศัตรูข้าว โดยที่มนุษย์ไม่ไปจัดการหรือรบกวน
ซึ่งเป็นการจัดการโดยธรรมชาติที่ช่วยสร้างสมดุลให้กับระบบนิเวศในนาข้าว ซึ่งวิธีการต่างๆ นั้น ใช้ได้ผลในระยะเวลาอันสั้นเท่านั้น เมื่อใช้ไปนานๆ
นกจะเกิดความเคยชิน และไม่กลัวสิ่งเหล่านี้ เนื่องจากนกเป็นสัตว์ที่ฉลาด
สามารถเรียนรู้และจดจำได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น
การใช้วิธีการป้องกันกำจัดนกศัตรูข้าวหลายวิธีมาบูรณาการรวมกัน
จึงมีแนวโน้มจะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งเพียงอย่างเดียว
กลุ่มนกกระติ๊ด
สกุล : Lonchura
วงศ์ : Estrildidae
อันดับ : Passeriformes
1. นกกระติ๊ดขี้หมู
(scaly-breasted munia)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lonchura
punctulata
ชื่อสามัญอื่น : นกผีด
(ภาคเหนือ)
นกกระติ๊ดขี้หมู ความยาวลำตัวประมาณ
12-12.5
เซนติเมตร ปากดำ หัว อก และลำตัวด้านบนสีน้ำตาลเข้ม
ลำตัวด้านล่างขาวแกมเทามีลายเกล็ดสีน้ำตาล กลางท้องและก้นขาว หางสีน้ำตาลแกมเหลือง
(ภาพที่ 5) นกวัยอ่อน ลำตัวสีน้ำตาลอ่อนกว่า
ไม่มีลายเกล็ดที่อก ปากล่างสีจางกว่าปากบน (จารุจินต์ และคณะ,
2550)
ถิ่นอาศัย
ทุ่งนา ทุ่งหญ้า ป่าละเมาะ
พื้นที่เปิดโล่งใกล้ชุมชนเมือง และที่ราบถึงพื้นที่ความสูง 1,500 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยมาก
2. นกกระติ๊ดตะโพกขาว
(white-rumped
munia)
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Lonchura
striata
ชื่อสามัญอื่น : -
นกกระติ๊ดตะโพกขาว
ความยาวลำตัวประมาณ 11-11.5 เซนติเมตร ปากสีเทา ตะโพกและท้องขาว ตัดกับหัว อก
และลำตัวด้านบนสีน้ำตาลเข้ม หน้าและปีกน้ำตาลดำ มีลายขีดสีจางที่หลังและอก
ปลายขนหางเป็นติ่งแหลมกว่านกกระติ๊ดชนิดอื่น (ภาพที่ 6)
(จารุจินต์ และคณะ, 2550)
ถิ่นอาศัย
ทุ่งหญ้า พื้นที่เกษตร ป่าละเมาะ ชายป่า
และที่ราบถึงพื้นที่ความสูง 1,500 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง
เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยมาก
กลุ่มนกกระจอก
สกุล : Passer
วงศ์ : Passeridae
อันดับ: Passeriforme
1. นกกระจอกบ้าน
(Eurasian
tree sparrow)
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Passer montanus
ชื่อสามัญอื่น : -
นกกระจอกบ้าน ความยาวลำตัวประมาณ 14-14.5 เซนติเมตร ปากดำ
หัวน้ำตาลแดงเข้ม แก้มขาวมีแต้มดำ คอดำ ลำตัวด้านบนน้ำตาลแดงมีลายดำ
ปีกน้ำตาลแดงมีแถบแคบๆ สีขาวพาด ลำตัวด้านล่างน้ำตาลแกมเทา (ภาพที่ 7) เสียงร้อง “ชิบ ชิบ” หรือ “ชิชิบ ชิชิบ” (จารุจินต์
และคณะ, 2550)
ถิ่นอาศัย
พื้นที่เกษตร ชุมชนเมือง ป่าละเมาะ ชายป่า และที่ราบถึงพื้นที่ความสูง 1,830 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยมาก
2. นกกระจอกใหญ่
(house
sparrow)
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Passer
domesticus
ชื่อสามัญอื่น : -
นกกระจอกใหญ่ ความยาวลำตัวประมาณ 15-15.5 เซนติเมตร ตัวผู้ ส่วนหน้าผากและกระหม่อมมีสีเทา
ส่วนหลังตาถึงท้ายทอยสีน้ำตาลแดงมีลายขีดดำและเทา ตะโพกสีเทาแก้มน้ำตาล
ลำตัวด้านล่างสีเทาแกมขาว (ภาพที่ 8ก) ตัวเมีย ส่วนปากมีสีเนื้อ
ส่วนหัวและลำตัวสีน้ำตาลแกมเทา คิ้วมีสีจางกว่า ปีกและหลังสีน้ำตาลแกมเหลืองอ่อน
คล้ายตัวเมียของนกกระจอกตาล แต่หลังมีลายขีดสีน้ำตาลจางๆ (ภาพที่
8ข) เสียงร้อง “ชีรับ ชีรับ ชีรับ” หรือ “ชรีป” (จารุจินต์
และคณะ, 2550)
ถิ่นอาศัย
ชุมชนเมือง พื้นที่เกษตร และพื้นที่เปิดโล่ง
เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยมาก และกำลังขยายถิ่นแพร่กระจายไปเรื่อยๆ
3. นกกระจอกตาล
(plain-backed
sparrow)
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Passer
flaveolus
ชื่อสามัญอื่น : -
นกกระจอกตาล ความยาวลำตัวประมาณ 13.5-15 เซนติเมตร ตัวผู้
ลำตัวด้านหลังมีสีน้ำตาลแดงไม่มีลาย ส่วนหลังตาถึงข้างหัวสีน้ำตาลแดง
ส่วนกระหม่อมและหลังตอนบนสีเทา คอสีดำ แก้มและลำตัวด้านล่างสีเหลืองอ่อน (ภาพที่ 9ก) ตัวเมีย ลักษณะคล้ายนกกระจอกใหญ่ตัวเมีย
แต่ส่วนหลังไม่มีลาย ลำตัวด้านล่างสีเหลืองอ่อนแกมน้ำตาล (ภาพที่
9ข) เสียงร้อง ใส “ชิ-รัป” หรือ “ชิ-ริบ” (จารุจินต์ และคณะ, 2550)
ถิ่นอาศัย
พื้นที่เกษตร และพื้นที่เปิดโล่ง ชายป่า
เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อย
กลุ่มนกกระจาบ
สกุล : Ploceus
วงศ์ : Ploceidae
อันดับ: Passeriformes
1. นกกระจาบธรรมดา
(baya
weaver)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ploceus
philippinus
ชื่อสามัญอื่น : -
นกกระจาบธรรมดา
ความยาวลำตัวประมาณ 14.5-15
เซนติเมตร ส่วนปากสีดำค่อนข้างยาว หน้าผากถึงท้ายทอยมีสีเหลืองสด
ส่วนหน้าสีคล้ำ หลังปีกและลำตัวด้านบนสีน้ำตาลดำมีลายจากขอบขนสีน้ำตาลอ่อน
ลำตัวด้านล่างสีน้ำตาลอ่อนแกมเหลือง (ภาพที่ 10ก) ตัวผู้นอกฤดูผสมพันธุ์และตัวเมีย
ส่วนปากสีเนื้อ ลำตัวสีน้ำตาลอ่อนแกมเหลือง ข้างแก้มเรียบไม่มีลาย ส่วนหัวมีลายสีคล้ำ
ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลเข้มมีลายจากขอบขนสีจาง (ภาพที่ 10ข) (จารุจินต์ และคณะ, 2550)
ถิ่นอาศัย
ทุ่งนา ทุ่งหญ้า พื้นที่ชุมน้ำ และที่ราบถึงพื้นที่ความสูง 1,220 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง
ทำรังทรงกลมมีทางเข้าเป็นท่อยาว ห้อยอยู่บนต้นไม้สูง เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อย
2. นกกระจาบทอง (Asian
golden weaver)
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Ploceus
hypoxanthus
ชื่ออื่นๆ : -
นกกระจาบทอง
ความยาวลำตัวประมาณ 14.5-15 เซนติเมตร ตัวผู้ชุดขนฤดูผสมพันธุ์ ส่วนหัว
ตะโพก และลำตัวด้านล่างมีสีเหลืองสด ตัดกับแถบหน้าและคอสีดำ
ลำตัวด้านบนสีดำแกมน้ำตาลมีลายเหลือง ส่วนหางสีดำ (ภาพที่
11ก) ตัวผู้นอกฤดูผสมพันธุ์และตัวเมีย
ลักษณะคล้ายนกกระจาบธรรมดามาก แต่ปากหนาอวบและสั้นกว่า (ภาพที่
11ข) (จารุจินต์ และคณะ, 2550)
ถิ่นอาศัย
ทุ่งนา
ทุ่งหญ้า พื้นที่ชุมน้ำ ที่ราบถึงพื้นที่ความสูง 1,220 เมตร
จากระดับทะเลปานกลาง ทำรังทรงกลมมีทางเข้าทางด้านข้าง อยู่ในระดับต่ำตามต้นกก
เป็นนกประจำถิ่น พบไม่บ่อย หรือพบบ่อยในบางพื้นที่
นกเขาใหญ่
(spotted
dove)
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Streptopelia
chinensis
ชื่อสามัญอื่น :
-
นกเขาใหญ่ ความยาวลำตัวประมาณ 30-31 เซนติเมตร ส่วนหัวมีสีเทา คอ และลำตัวด้านล่างสีน้ำตาลแกมม่วง
ส่วนหลังคอเป็นแถบดำมีจุดขาวกระจาย ส่วนหลังสีน้ำตาล หางยาว ปลายขาว เสียงร้อง
“วุ่ก-วุค-ครู่ วุ่ก-วุค-ครู่” ก้องกังวาน (จารุจินต์ และคณะ, 2550)
ถิ่นอาศัย
พื้นที่เกษตร
สวน แหล่งชุมชน ชายป่า และพื้นที่เปิดโล่งต่างๆ ที่ราบถึงพื้นที่ความสูง 2,040 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยมาก
นกพิราบป่า
(rock
pigeon)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Columba livia
ชื่อสามัญอื่น
: -
นกพิราบป่า
ความยาวลำตัวประมาณ 33-34 เซนติเมตร ส่วนหัวสีเทาเข้ม หลังและอกสีเข้มกว่า
ปีกเทาอ่อน แถบปีกดำ ปลายหางดำ ตัวผู้ ขนาดลำตัวใหญ่กว่าตัวเมีย
ส่วนคอเหลือบเขียวมากกว่า (ภาพที่ 13)
ปัจจุบันมีการผสมและคัดเลือกสายพันธุ์จนมีสีขนที่หลากหลายแตกต่างไปจากพันธุ์ดั้งเดิม
เช่น สีน้ำตาล ขาว หรือมีลวดลายต่างๆ เสียงร้อง แหบ “อุอุครู่”
(จารุจินต์ และคณะ, 2550)
ถิ่นอาศัย
บ้านเรือน แหล่งชุมชน พื้นที่เกษตรกรรม และหน้าผาหิน
เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยมาก