Loading...
บทความ

โรคขอบใบแห้ง( (Bacterial Leaf Blight Disease or Bacterial Blight Disease) )

โรคขอบใบแห้ง( (Bacterial Leaf Blight Disease or Bacterial Blight Disease) )

โรคขอบใบแห้ง( (Bacterial Leaf Blight Disease or Bacterial Blight Disease) )

  • โรคขอบใบแห้ง( (Bacterial Leaf Blight Disease or Bacterial Blight Disease) )
  • แหล่งที่พบ : ในนาน้ำฝน นาชลประทาน เขตภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคใต้
  • สาเหตุ : เชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas oryzae pv. oryzae (Ishiyama 1922) Swings et al.,1990
    อาการ
  • โรคนี้เป็นได้ตั้งแต่ระยะกล้า แตกกอ ออกรวง จนถึงเก็บเกี่ยว อาการระยะกล้า: ก่อนนำไปปักดำ จะพบรอยขีดลักษณะช้ำน้ำที่ขอบใบล่าง ต่อมาประมาณ 7-10 วัน รอยช้ำนี้จะขยายเป็นทางสีเหลืองยาวตามขอบใบข้าว ใบที่เป็นโรคจะแห้งเร็ว และสีเขียวจะจางลงเป็นสีเทา ซึ่งอาการของโรคในระยะกล้าอาจสังเกตได้ยาก แต่จะสังเกตได้ง่ายในกรณีที่เชื้อแบคทีเรียเข้าทำลายต้นข้าวทางรากและส่วนล่างของลำต้น ทำให้ท่อน้ำท่ออาหารอุดตัน ใบข้าวหรือต้นข้าวจะเหี่ยวและเฉาตายอย่างรวดเร็ว เรียกอาการของโรคนี้ว่า ครีเสค (kresek) อาการระยะแตกกอ: แผลมักจะเริ่มเป็นแถบช้ำน้ำที่ขอบใบห่างจากปลายใบลงมาเล็กน้อย จากนั้นแผลจะขยายทั้งด้านกว้างและด้านยาวขนานกับขอบใบ บริเวณแผลซึ่งติดกับส่วนปกติมีลักษระไม่เรียบ คล้ายคลื่นและมีสีเหลือง แผลอาจเกิดที่ขอบใบข้างหนึ่งก่อนหรือเกิดทั้งสองข้างพร้อมกัน อาจพบกลุ่มเซลล์ของแบคทีเรีย (bacterial ooze) มีลักษณะเป็นหยดน้ำสีครีม คล้ายยางสนกลมๆ ขนาดเล็กเท่าหัวเข็มหมุดบนขอบแผลที่แสดงอาการของโรค ต่อมาจะแห้งและกลายเป็นสีน้ำตาล หลุดไปตามน้ำหรือฝน ซึ่งจะทำให้โรคสามารถระบาดต่อไปได้ ถ้าเกิดอาการรุนแรงมากแผลอาจขยายไปทั่วทั้งใบและเปลี่ยนเป็นสีเทาอ่อน อาการระยะข้าวออกรวงถึงระยะเก็บเกี่ยว: คล้ายอาการในระยะแตกกอ โดยเชื้อจะเข้าทำลายที่ใบธงของข้าวซึ่งจะส่งผลต่อผลผลิตข้าว ทำให้ผลลิตข้าวลดลง เมล็ดลีบ น้ำหนักเบา คุณภาพเมล็ดไม่ได้มาตรฐาน เนื่องจากใบธงทำหน้าที่สำคัญในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อส่งอาหารไปให้รวงข้าวในการสร้างเมล็ดข้าว
    การแพร่ระบาด
  • เชื้อสาเหตุโรคสามารถแพร่ไปกับน้ำ ในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสูง และสภาพที่มีฝนตก ลมพัดแรง จะช่วยให้โรคแพร่ระบาดอย่างกว้างขวางรวดเร็ว
    การป้องกันกำจัด
  • • ใช้พันธุ์ข้าวที่ต้านทาน เช่น พันธุ์สุพรรณบุรี 60 สุพรรณบุรี 90 สุพรรณบุรี 1 สุพรรณบุรี 2 ปทุมธานี 1 กข31 กข57 เป็นต้น • ในดินที่อุดมสมบูรณ์ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมาก • ไม่ควรระบายน้ำจากแปลงที่เป็นโรคไปสู่แปลงอื่น • ควรเฝ้าระวังการเกิดโรคถ้าปลูกข้าวพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคนี้ เช่น พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 กข6 เหนียวสันป่าตอง พิษณุโลก 2 ชัยนาท 1 กข41 กข47 กข49 กข61 กข71 กข79 เป็นต้น • เมื่อเริ่มพบอาการของโรคบนใบข้าว ให้ใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชที่มีทองแดงเป็นองค์ประกอบ เช่น คอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ ซิงค์ไทอะโซล ไตรเบซิคคอปเปอร์ซัลเฟต เป็นต้น ต้องฉีดพ่นช่วงเย็นที่ไม่มีแสงแดด เพื่อป้องกันการเกิดความเป็นพิษกับใบข้าวจากสารเคมีดังกล่าว • แช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำอุ่น (hot water treatment) ที่อุณหภูมิ 50-52 องศาเซลเซียส นาน 10 นาที • คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารฟอกสี (bleaching powder) 100 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และซิงค์ซัลเฟต (zinc sulfate) 2 เปอร์เซ็นต์ นาน 8-24 ชั่วโมง
    ข้อควรระวัง