Loading...
บทความ

โรคเมล็ดด่าง( Dirty Panicle Disease )

โรคเมล็ดด่าง( Dirty Panicle Disease )

โรคเมล็ดด่าง( Dirty Panicle Disease )

  • โรคเมล็ดด่าง( Dirty Panicle Disease )
  • แหล่งที่พบ : นาชลประทาน ภาคกลาง ภาคตะวันตก ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคใต้
  • สาเหตุ : เชื้อรา Alternaria padwickii (Ganguly) M.B. Ellis (Syn. Trichoconis padwickii Ganguly) เชื้อรา Bipolaris oryzae (Breda de Haan) Shoemaker (Syn. Hemintthosporium oryzae Breda de Haan) เชื้อรา Cercospora janseana (Racib.) Constant. (Syn. Cercospora oryzae I. Miyake) เชื้อรา Curvularia lunata (Wakker) Boedijn เชื้อรา Fusarium incarnatum (Roberge) Sacc. (Syn. Fusarium semitectum Berk. & Ravenel) เชื้อรา Sarocladium oryzae (Sawada) W.Gams & D.Hawksw.
    อาการ
  • ในระยะออกรวง พบแผลเป็นจุดสีน้ำตาล หรือดำที่เมล็ดบนรวงข้าว บางส่วนมีลายสีน้ำตาลดำ และบางส่วนมีสีเทาชมพู ทั้งนี้เพราะมีเชื้อราหลายชนิดที่สามารถเข้าทำลายและทำให้เกิดอาการต่างกันไป การเข้าทำลายของเชื้อรามักจะเกิดในช่วงดอกข้าวเริ่มโผล่จากกาบหุ้มรวงจนถึงระยะเมล็ดข้าวเริ่มเป็นน้ำนม และอาการเมล็ดด่าง จะปรากฏเด่นชัดในระยะใกล้เก็บเกี่ยว
    การแพร่ระบาด
  • เชื้อราสามารถแพร่กระจายไปกับลม ติดไปกับเมล็ด และสามารถแพร่กระจายในยุ้งฉางได้ เชื้อสาเหตุบางชนิด สามารถสร้างสารพิษ (toxin) ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้
    การป้องกันกำจัด
  • 1. ควรเฝ้าระวังการเกิดโรค ถ้าปลูกข้าวพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคนี้ เช่น สุพรรณบุรี 60 สุพรรณบุรี 90 พิษณุโลก 2 กข41 ข้าวเจ้าหอมคลองหลวง 1 เป็นต้น 2. เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ปลูก ควรคัดเลือกจากแปลงที่ไม่เป็นโรค 3. พื้นที่ที่มีการระบาดเป็นประจำ คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น คาร์เบนดาซิม* หรือ แมนโคเซบ* (ใช้ด้วยความระมัดระวังเพราะเป็นสารขัดขวางการทำงานของต่อมไร้ท่อ) ในอัตรา 3 กรัมต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม เป็นต้น 4. ในระยะที่ต้นข้าวตั้งท้องใกล้ออกรวง เมื่อพบอาการใบจุดสีน้ำตาลที่ใบธง หรือโรคกาบใบเน่า ถ้ามีฝนตกชุกควรป้องกันตั้งแต่ระยะเริ่มแสดงอาการ โดยพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ไดฟีโนโคนาโซล+โพรพิโคนาโซล* อะซอกซีสโตรบิน+ไดฟีโนโคนาโซล เฮกซะโคนาโซล อะซอกซีสโตรบิน ครีซอกซิม-เมทิล (ใช้ด้วยความระมัดระวังเพราะเป็นสารขัดขวางการทำงานของต่อมไร้ท่อ) เป็นต้น ตามอัตราที่ระบุ
    ข้อควรระวัง