บทความ
โรคข้าวและการป้องกันกำจัด
โรคไหม้
โรคขอบใบแห้ง
โรคถอดฝักดาบ หรือโรคหลาว
โรคไหม้
สาเหตุ : เชื้อรา
ลักษณะอาการ
ระยะกล้า ใบมีแผลจุดสีน้ำตาลลักษณะคล้ายรูปตากลางแผลมีสีเทา กว้าง 2-5 มิลลิเมตร ยาว 10-15 มิลลิเมตร ถ้าระบาดรุนแรงต้นกล้าข้าวจะแห้งและฟุบตาย
ระยะแตกกอ พบอาการของโรคบนใบ ข้อต่อใบ และข้อของลำต้น แผลบนใบมีขนาดใหญ่ กว่าระยะกล้า ลุกลามติดต่อกันได้ที่บริเวณข้อต่อใบมีลักษณะแผลช้ำ สีน้ำตาลดำ ทำให้ใบหลุด
ระยะออกรวง ถ้าเป็นโรคในระยะต้นข้าวเริ่มออกรวงเมล็ดจะลีบ แต่ถ้าเป็นโรคหลังต้นข้าวออกรวงแล้ว คอรวงจะปรากฏแผลช้ำสีน้ำตาล ทำให้รวงข้าวหักง่ายและหลุดร่วง อาการลักษณะนี้เรียกว่า โรคเน่าคอรวง
ช่วงเวลาระบาด
อากาศเย็น มีน้ำค้างบนใบข้าวถึงเวลาสาย หรือมีหมอกจัดติดต่อกันหลายวัน
การป้องกันกำจัด
- กำจัดพืชอาศัยรอบคันนา เช่น หญ้าชันกาด หญ้าขน หญ้าไซ เป็นต้น
- จัดการสมดุลของธาตุอาหารพืช โดยเฉพาะไนโตรเจน
- ระยะปลูกให้อากาศถ่ายเทได้ดี รักษาระดับน้ำให้พอดี เพื่อให้ต้นข้าวแข็งแรงทนทานต่อโรค
โรคขอบใบแห้ง
สาเหตุ : เชื้อแบคทีเรีย
ลักษณะอาการ
ระยะกล้า มีจุดเล็กลักษณะฉ่ำน้ำที่ขอบใบล่าง ต่อมา 7-10 วัน จุดขยายเป็นทางสีเหลืองยาวตามใบ ใบแห้งเร็วส่วนที่ยังมีสีเขียวเปลี่ยนเป็นสีเทา ถ้าอาการรุนแรงต้นข้าว อาจเหี่ยวตายทั้งต้น หากนำต้นกล้าที่ได้รับเชื้อไปปักดำ ต้นกล้าจะเหี่ยวตายในเวลารวดเร็ว
ช่วงเวลาระบาด
ระยะหลังปักดำ โดยทั่วไปต้นข้าวแสดงอาการหลังปักดำแล้ว 4-6 สัปดาห์ ขอบใบมีรอยขีดช้ำ ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีเหลือง บางครั้งพบหยดแบคทีเรียบริเวณแผล แผลมักขยายอย่างรวดเร็วไปตามความยาวของใบ ถ้าแผลขยายไปตามกว้าง ขอบแผลด้านในจะไม่เรียบ ต่อมาแผลเปลี่ยนเป็นสีเทาและแห้ง เมื่อฝนตกติดต่อกันหลายวัน ระดับน้ำในนาสูงหรือเมื่อเกิดภาวะน้ำท่วมในแปลงที่เป็นโรค ไถกลบตอซังข้าวทันทีหลังเก็บเกี่ยว
โรคถอดฝักดาบหรือโรคหลาว
สาเหตุ : เชื้อรา
ลักษณะอาการ
ในระยะแตกกอต้นข้าวจะผอมสูง ซีด มักมีรากเกิดขึ้นที่ข้อต่อของลำต้น เมื่อถอนกล้าจะขาดตรงโคนต้น สังเกตดูจะเห็นว่ารากเน่าช้ำ ถ้าอาการรุนแรง กล้าจะตายหลังปลูกเพียงไม่กี่วัน แต่ถ้าไม่รุนแรงจะแสดงอาการหลังปักดำ 15-45 วัน โดยต้นจะมีสีเขียวซีด บางครั้งพบกลุ่มเส้นใยสีขาวหรือชมพู บริเวณข้อที่ย่างปล้องขึ้นมาและในที่สุดข้าวจะตาย
การระบาดและทำลาย
ส่วนใหญ่เป็นโรคที่ติดไปกับเมล็ดพันธุ์ แต่เชื้อราสามารถมีชีวิตอยู่ได้ในตอซังและดินเป็นเวลาหลายเดือน มีหญ้าชันกาดเป็นพืชอาศัยนอกเหนือไปจากข้าว สภาพที่เหมาะสมต่อการระบาด คือ อากาศร้อนอุณหภูมิประมาณ 30-35 องศาเซลเซียส และดินมีธาตุไนโตรเจนอยู่ในระดับสูง
การป้องกันและกำจัด
ไม่ใช้เมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่เป็นโรค ถอนต้นที่เป็นโรคเผาไฟ เมื่อเก็บเกี่ยวแล้วให้เผาฟางและตอซังของต้นข้าวในแปลงที่พบโรคแช่เมล็ดพันธุ์ข้าวในน้ำอุ่น หรือในสารละลายจุนสี (จุนสี 1 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร) นาน 20 ชั่วโมงแล้วล้างด้วยน้ำก่อนนำไปปลูก