ฟอสฟอรัส (P) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของ Adenosine triphosphate (ATP) นิวคลีโอไทล์ (Nucleotile) กรดนิวคลีอิก (Nucleic acids) และฟอสโฟไลปิด (Phospholipid) ฟอสฟอรัสจะช่วยในการแตกกอ การพัฒนาของราก การออกดอกและการสุกแก่ของข้าว ปุ๋ยฟอสเฟตจะจำเป็นมากสำหรับข้าวที่ระบบรากยังไม่พัฒนาเต็มที่ เช่นหลังการปักดำใหม่ๆ ดังนั้นจึงควรใส่ปุ๋ยฟอสเฟตเป็นปุ๋ยรองพื้นก่อนการปักดำหรือในวันปักดำ
ข้าวที่ขาดฟอสฟอรัสจะแคระแกรน การแตกกอน้อย ใบแคบ สั้น ตั้งตรงและมีสีเขียวเข้ม ลำต้นผอมเรียว ข้าวจะชะงักการเจริญเติบโต จำนวนใบ จำนวนรวงและจำนวนเมล็ดต่อรวงลดลง ใบอ่อนสมบูรณ์ดีแต่ใบแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและตายในที่สุด ถ้าพันธุ์ข้าวที่ปลูกสามารถผลิต Anthocyanin ได้ใบอาจเปลี่ยนเป็นสีแดงหรือสีม่วง ในดินที่เป็นกรดการขาดฟอสฟอรัสมักจะเกิดร่วมกับเหล็กเป็นพิษ
ตารางแสดงแหล่งปุ๋ยฟอสเฟตสำหรับใช้ในนาข้าวที่สำคัญ |
ชนิด | สูตร | ปริมาณธาตุอาหาร | หมายเหตุ |
Sigle superphosphate | Ca(H2PO4)2.H2O + CaSO4).2H2O | 7-9%P 12%S 13-20%Ca | ละลายได้ดี, มีปฏิกิริยาเป็นกลาง (16-21% P2O5) |
Triple superphosphate | Ca(H2PO4)2.H2O | 18-22%P 1.4%S 9-14%Ca | ละลายได้ดี, มีปฏิกิริยาเป็นกลาง (41-50% P2O5) |
Monoammonium phosphate (MAP) | NH4H2PO4 | 22%P 11%N | ละลายได้ดี, มีปฏิกิริยาเป็นกรด (51% P2O5) |
Diammonium phosphate (DAP) | (NH2)2CO | 20-23%P 18-21%N | ละลายได้ดี, มีปฏิกิริยาเป็นกรด (16-21% P2O5) |
Urea phosphate | (NH2)2CO+H3PO4 | 20%P 18%N | ละลายได้ดี (46% P2O5) |
Partly acidulated rock phosphate | Ca3(P04)2 | 10-11%P | ละลายน้ำได้มากกว่า 1/3 (23-26% P2O5) |
Rock phosphate, บดละเอียด | Ca3(P04)2 | 10-17%P 33-36%Ca | ออกฤทธิ์ช้า (25-29% P2O5) |
สาเหตุของการขาดฟอสฟอรัสเกิดจากการมีระดับฟอสฟอรัสในดินนาต่ำหรือถูกตรึงโดยดินจนพืชนำมาใช้ประโยชน์ไม่ได้ (จะเกิดในดินที่เป็นกรดจัด) การใส่ปุ๋ยไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช วิธีการปลูกแบบนาหว่านมีโอกาสทำให้ข้าวขาดฟอสฟอรัสมากกว่าปลูกแบบปักดำเพราะต้นข้าวจะหนาแน่นกว่าและมีรากตื้นกว่าข้าวที่ปลูกแบบปักดำ
การจัดการเพื่อการป้องกันและแก้ไขการขาดฟอสฟอรัสสามารถทำได้โดย การไถกลบฟางข้าวลงในแปลง เพราะถึงแม้ว่าปริมาณฟอสฟอรัสในฟางข้าวจะมีน้อย แต่จะช่วยรักษาระดับฟอสฟอรัสในดินในระยะยาว ใส่ปุ๋ยฟอสเฟต ปุ๋ยคอกและวัสดุอินทรีย์อื่นๆ ให้กับข้าวอย่างพอเพียง เพื่อชดเชยกับธาตุอาหารที่สูญเสียไปจากการเก็บเกี่ยวผลผลิต
อาการขาดธาตุฟอสฟอรัสในข้าว
|
| | |